ภาพเด็กชาวกระหร่างและแม่น้ำเพชรบุรี (ซ้าย) และภาพหมอเย้าและภรรยาพร้อมจระเข้ในเรือ (ขวา) หลักการและเหตุผล แม่น้ำเพชรบุรีเป็น 1 ใน 5 แม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย มีต้นกำเนิดมาจากฝั่งตะวันตกบริเวณชายแดนไทย-พม่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน ไหลลงสู่อ่าวไทย มีความยาวรวมกว่า 200 กิโลเมตร และจากคำบอกเล่าของชาวกระหร่างซึ่งอาศัยอยู่กับแม่น้ำเพชรบุรีกลางผืนป่า แก่งกระจาน มาหลายชั่วอายุคน ชาวกระหร่างอยู่ร่วมกับจระเข้มานานกว่าร้อยปี แต่หลักฐานเก่าแก่ที่น่าจะพอยืนยันได้ว่ามีจระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis) อาศัยอยู่ในแม่น้ำเพชรบุรีก็คือภาพถ่ายที่ทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้ รับมอบจาก ฯพณฯ องคมนตรี สวัสดิ์ วัฒนายากร (ภาพที่ 16) ซึ่งถ่ายไว้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519 เป็นภาพหมอเย้า หรือ นายเย้า เจริญสุข หมอจระเข้ฟาร์มสมุทรปราการ มาจับจระเข้ในบริเวณโป่งลึก-บางกลอยเพื่อจะนำกลับไปที่ฟาร์ม วัตถุประสงค์ - เพื่อศึกษาการกระจายและขนาดประชากรจระเข้น้ำจืดที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประเมินสถานภาพ และกำหนดแผนการจัดการที่เหมาะสม - เพื่อเสริมความชำนาญในการจำแนกหลักฐานการปรากฏ ร่องรอย รัง ของจระเข้น้ำจืดให้แก่ทีมวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ผลการดำเนินงาน ในปี พ.ศ. 2544 ระหว่างที่สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย จัดการอบรมการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าเพื่อสำรวจและติดตามประชากรเสือโคร่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ด้วยความบังเอิญ กล้องหนึ่งตัวสามารถถ่ายภาพจระเข้น้ำจืดได้ (ภาพด้านล่าง) ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของโครงการ ผนวกกับทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้มองเห็นความสำคัญและคัดเลือกจระเข้น้ำจืดเข้าเป็นชนิดพันธุ์แห่งผืนป่า (Living Landscape Species) ของพื้นที่ป่าแก่งกระจาน รายงานการพบรังจระข้ในธรรมชาติครั้งแรกในปี พ.ศ. 2551 และปีต่อๆ มายิ่งเป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสำรวจครั้งนี้ ภาพจระเข้น้ำจืดที่ได้จากกล้องดักถ่ายภาพ โดยสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย เดือนมีนาคม 2544 ที่ปากห้วยมะระแคเนาะ สภาพรังจระเข้ที่พบเมื่อ กรกฎาคม 2553 อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้ทำการบันทึกข้อมูลรัง ติดตามการขึ้นทำรังวางไข่ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า ได้แก่ John Thorbjarnarson และ Steve G. Platt ก่อนที่จะเริ่มรวบรวมประวัติการพบจากการสัมภาษณ์ (สิงหาคม - กันยายน 2553) สำรวจตามแม่น้ำสายหลัก (พฤษจิกายน 2553 - มิถุนายน 2554) และ เริ่มสำรวจในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ (พฤษภาคม - ตุลาคม 2554) ผลการสำรวจเบื้องต้นได้ทำให้ทราบถึงการกระจายของจุดที่พบจระเข้และดัชนีความชุกชมเบื้องต้น (ตารางที่ 6 และภาพที่ 17) ซึ่งโดยรวมสามารถประเมินได้ว่ามีจระเข้อาศัยอยู่ในแม่น้ำเพชรบุรีอย่างน้อย 2 ตัว ตาราง ผลการสำรวจการปรากฏของจระเข้น้ำจืดที่พบระหว่างเดือน พ.ย. 2553- มิ.ย. 2554เส้นสำรวจจำนวนวัน ระยะทาง (กม.)จำนวน (อัตราการพบต่อ 10 กม.)ร่องรอยต่าง ๆกองมูลก. ลำแม่ประโดน พ.ย. 53648.4 ไม่พบไม่พบข. แม่น้ำเพชรบุรี พ.ย. 53 418.8ไม่พบ 2 (1.06)ธ.ค. 53635.11 (0.28) 2 (0.57)ม.ค. 54 5 48.5ไม่พบ2 (0.41)มี.ค. 54 5 31.61 (0.32)0เม.ษ. 54 4 37.11 (0.27)1 (0.27)พ.ค. 54 537.8ไม่พบไม่พบมิ.ย. 54 2 32.9ไม่พบไม่พบสรุปรวม31241.83 (0.12)7 (0.29) ภาพแสดงการพบจระเข้จากการสัมภาษณ์แยกแสดงตามช่วงปีที่พบ (ซ้าย) และร่องรอยจระเข้ที่พบระหว่างการสำรวจทางเรือ แยกแสดงตามประเภทของร่องรอย (ขวา) สภาพพื้นที่และการเก็บข้อมูลที่รังจระเข้ การสำรวจทางเรือและการบันทึกร่องรอย การส่องไฟเพื่อยืนยันการปรากฎของจระเข้น้ำจืดในอ่างเก็บน้ำแก่งกระจานตามตำแหน่งที่ชาวประมงรายงานภาพตัวอย่างหลักฐานการปรากฎของจระเข้ที่พบ ภาพการอบรมเรื่องเทคนิคการสำรวจจระเข้ การจัดการจระเข้ในฟาร์มจระเข้ รายงานจากภาคสนาม > บันทึกการสำรวจลำน้ำเพชรฯ กับความหวังสุดท้ายของจระเข้น้ำจืดไทย Part 1 > บันทึกการสำรวจลำน้ำเพชรฯ กับความหวังสุดท้ายของจระเข้น้ำจืดไทย Part 2
ภาพเด็กชาวกระหร่างและแม่น้ำเพชรบุรี (ซ้าย) และภาพหมอเย้าและภรรยาพร้อมจระเข้ในเรือ (ขวา)
หลักการและเหตุผล
แม่น้ำเพชรบุรีเป็น 1 ใน 5 แม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย มีต้นกำเนิดมาจากฝั่งตะวันตกบริเวณชายแดนไทย-พม่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน ไหลลงสู่อ่าวไทย มีความยาวรวมกว่า 200 กิโลเมตร และจากคำบอกเล่าของชาวกระหร่างซึ่งอาศัยอยู่กับแม่น้ำเพชรบุรีกลางผืนป่า แก่งกระจาน มาหลายชั่วอายุคน ชาวกระหร่างอยู่ร่วมกับจระเข้มานานกว่าร้อยปี แต่หลักฐานเก่าแก่ที่น่าจะพอยืนยันได้ว่ามีจระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis) อาศัยอยู่ในแม่น้ำเพชรบุรีก็คือภาพถ่ายที่ทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้ รับมอบจาก ฯพณฯ องคมนตรี สวัสดิ์ วัฒนายากร (ภาพที่ 16) ซึ่งถ่ายไว้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519 เป็นภาพหมอเย้า หรือ นายเย้า เจริญสุข หมอจระเข้ฟาร์มสมุทรปราการ มาจับจระเข้ในบริเวณโป่งลึก-บางกลอยเพื่อจะนำกลับไปที่ฟาร์ม
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาการกระจายและขนาดประชากรจระเข้น้ำจืดที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประเมินสถานภาพ และกำหนดแผนการจัดการที่เหมาะสม
- เพื่อเสริมความชำนาญในการจำแนกหลักฐานการปรากฏ ร่องรอย รัง ของจระเข้น้ำจืดให้แก่ทีมวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
ผลการดำเนินงาน
ในปี พ.ศ. 2544 ระหว่างที่สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย จัดการอบรมการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าเพื่อสำรวจและติดตามประชากรเสือโคร่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ด้วยความบังเอิญ กล้องหนึ่งตัวสามารถถ่ายภาพจระเข้น้ำจืดได้ (ภาพด้านล่าง) ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของโครงการ ผนวกกับทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้มองเห็นความสำคัญและคัดเลือกจระเข้น้ำจืดเข้าเป็นชนิดพันธุ์แห่งผืนป่า (Living Landscape Species) ของพื้นที่ป่าแก่งกระจาน รายงานการพบรังจระข้ในธรรมชาติครั้งแรกในปี พ.ศ. 2551 และปีต่อๆ มายิ่งเป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสำรวจครั้งนี้
ภาพจระเข้น้ำจืดที่ได้จากกล้องดักถ่ายภาพ โดยสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย เดือนมีนาคม 2544 ที่ปากห้วยมะระแคเนาะ
สภาพรังจระเข้ที่พบเมื่อ กรกฎาคม 2553
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้ทำการบันทึกข้อมูลรัง ติดตามการขึ้นทำรังวางไข่ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า ได้แก่ John Thorbjarnarson และ Steve G. Platt ก่อนที่จะเริ่มรวบรวมประวัติการพบจากการสัมภาษณ์ (สิงหาคม - กันยายน 2553) สำรวจตามแม่น้ำสายหลัก (พฤษจิกายน 2553 - มิถุนายน 2554) และ เริ่มสำรวจในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ (พฤษภาคม - ตุลาคม 2554) ผลการสำรวจเบื้องต้นได้ทำให้ทราบถึงการกระจายของจุดที่พบจระเข้และดัชนีความชุกชมเบื้องต้น (ตารางที่ 6 และภาพที่ 17) ซึ่งโดยรวมสามารถประเมินได้ว่ามีจระเข้อาศัยอยู่ในแม่น้ำเพชรบุรีอย่างน้อย 2 ตัว
ตาราง ผลการสำรวจการปรากฏของจระเข้น้ำจืดที่พบระหว่างเดือน พ.ย. 2553- มิ.ย. 2554
ภาพแสดงการพบจระเข้จากการสัมภาษณ์แยกแสดงตามช่วงปีที่พบ (ซ้าย) และร่องรอยจระเข้ที่พบระหว่างการสำรวจทางเรือ แยกแสดงตามประเภทของร่องรอย (ขวา)
สภาพพื้นที่และการเก็บข้อมูลที่รังจระเข้
การสำรวจทางเรือและการบันทึกร่องรอย
การส่องไฟเพื่อยืนยันการปรากฎของจระเข้น้ำจืดในอ่างเก็บน้ำแก่งกระจานตามตำแหน่งที่ชาวประมงรายงาน
ภาพตัวอย่างหลักฐานการปรากฎของจระเข้ที่พบ
ภาพการอบรมเรื่องเทคนิคการสำรวจจระเข้ การจัดการจระเข้ในฟาร์มจระเข้
รายงานจากภาคสนาม
> บันทึกการสำรวจลำน้ำเพชรฯ กับความหวังสุดท้ายของจระเข้น้ำจืดไทย Part 1
> บันทึกการสำรวจลำน้ำเพชรฯ กับความหวังสุดท้ายของจระเข้น้ำจืดไทย Part 2
Join more than one million wildlife lovers working to save the Earth's most treasured and threatened species
Thanks for signing up!