วีดีโอ


#GlobalTigerDay July 29, 2017

Although recruitment into the population of tiger >1 year old may increase slightly through greater cub survival, we speculate that far greater increase in survival are likely to occur after a time lag of several years (through cub survival and immigration) in response to increase and stabilization of prey densities, following increased patrol effort. (Duangchantrasiri et al.,2015)

 


"WCS Camera Trapping @ HKK 2013"


ประมวลภาพจากกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า (Camera Trap) ปี 2556 ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (HKK) จังหวัดอุทัยธานี เพื่อสำรวจติดตามประชากรเสือโคร่ง อันเป็นงานวิจัยร่วมกันระหว่าง สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย


 “ได้เวลาออกตระเวน”

เจ้าหน้าที่ WCS บันทึกภาพเคลื่อนไหวระหว่างติดตามการเคลื่อนที่ของช้างฝูงหนึ่งร่วมกับ จนท. อุทยานฯ แก่งกระจาน เป็นการรวมฝูงที่ชายขอบป่าก่อนมุ่งหน้าเข้าพื้นที่เกษตรในชุมชนยามพลบค่ำ มาดูกันว่าคืนนี้เกษตรต้องรับมือกับช้างกี่สิบตัว ... คาดว่าคงไม่ได้หลับนอน พอบันทึกภาพเสร็จ จนท. ก็ต้องรีบไปช่วยชุมชนป้องกันช้างต่อ

 


“ฟังพี่ใหญ่สั่งขบวนทยอยข้ามน้ำ”


หลังจากปักหลักที่อ่างเก็บน้ำใหญ่หลายวัน ช้างฝูงนี้นับได้ราว 25 ตัว ทยอยมุ่งลงใต้ตามเส้นทางเดิม มีช้างเด็กหลายตัวที่ยังต้องตามกินนมแม่อยู่เป็นระยะ บางตัวก็ห่วงเล่นน้ำ ขบวนจึงยาวเหยียด จนต้องมีการใช้เสียงสื่อสานกันจนสนั่นป่า คนเมืองอาจไม่ค่อยได้เห็นไม่ค่อยได้ยินกัน เพราะแม้แต่ชาวบ้านที่นี่ยังแลดูตื่นเต้นที่เห็นช้างฝูงนี้ ได้เห็น ได้ฟังแล้วอาจจะนึกถึง Jurassic Park ? แต่ฟังแล้วจะรู้จัก "ช้างป่า" สัตว์สังคมที่อยู่เป็นพี่ใหญ่บนโลกนี้มาหลายล้านปีมากขึ้น

 

“Note from the Field: มาตามนัด”

ในช่วงแล้งของทุกปี เจ้าหน้าที่สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) มีนัดเฝ้าติดตามบรรดาฝูงช้างที่มารวมกันลงกินและเล่นน้ำในอ่างเก็บน้ำสำคัญ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ติดกับอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มาลองนับกันครับว่าช้างฝูงนี้มีทั้งหมดกี่ตัว

 


“Note from the Field: ซ้อมรำแพน”


นกยูงไทย (
Green Peafowl) เป็นสัตว์ตระกูลไก่ฟ้าที่มีขนาดใหญ่ มีพฤติกรรมหากินร่วมกันเป็นฝูงขนาดเล็ก ซึ่งนกยูงเพศผู้ตัวเต็มวัย เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูสืบพันธุ์จะมีขนคลุมหางที่ยาวออกมา ในขณะที่นกยูงเพศผู้วัยเด็กมีลักษณะแทบไม่แตกต่างจากเพศเมีย บางครั้งนกยูงวัยเด็ก พอเห็นตัวเต็มวัยในฝูงรำแพน โดยการคลี่แพนขนหางออกดูคล้ายเป็นรูปพัด เกี้ยวพาราสี และเรียกความสนใจจากตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ เมื่อนกยูงวัยเด็กได้เห็นก็มีการเลียนแบบพฤติกรรมซ้อมรำแพนบ้าง



Video by Kwanchai Waitanyakarn/WCS