โครงการการอนุรักษ์ชะนีมือดำ และเซียมัง ในผืนป่าฮาลาบาลา ภาคใต้ของประเทศไทย


สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย ทำงานร่วมกับนักวิจัย เจ้าหน้าที่ในผืนป่าอนุรักษ์จาก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และ ดร.วรเรณ บรอคเคิลแมน นักวิจัยอาวุโส ที่ได้ทำการศึกษาชะนีในประเทศไทยกว่า 20 ปี แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ในการสำรวจสถานภาพประชากร การกระจายพันธุ์ และภัยคุกคามของชะนีมือดำ และชะนีดำใหญ่ ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์หายากในภูมิภาค สมาคมฯจะได้ทำการอบรมเจ้าหน้าที่อนุรักษ์ในเรื่องระบบการศึกษาติดตามชะนีและ สัตว์ป่าชนิดอื่นๆ รวมไปถึงข้อมูลด้านภัยคุกคามผืนป่าฮาลาบาลาเป็นป่าธรรมชาติที่มีความสำคัญ อย่างยิ่งบริเวณแนวชายแดนไทยและมาเลเซีย

ผู้ปฏิบัติงานในโครงการ

1. ดร.อนรรฆ พัฒนวิบูลย์
2. ดร.วรเรณ บรอคเคิลแมน
3.นางสาวศิริพร ทองอารีย์
4. นายสุวัฒน์ แก้วศรีสุข

ระยะเวลาในการทำงาน

ตุลาคม พ.ศ. 2547 - พฤษภาคม 2548

วัตถุประสงค์โครงการ

1. เพื่อวางระบบการตรวจวัดประชากรของชะนีมือดำ และเซียมัง ซึ่งเป็นชะนีที่หายากในประเทศไทย โดยพบได้ในผืนป่าฮาลา-บาลา
2. เพื่อทราบศักยภาพของผืนป่าฮาลา - บาลา ในการเป็นพื้นที่อาศัยของชะนีมือดำ และเซียมัง
3. เสริมสร้างจิตสำนึกให้แก่นักศึกษา เยาวชน และประชาชน ในท้องถิ่น ในการอนุรักษ์สัตว์ป่า และป่าไม้

เป้าหมายของโครงการ

ให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา และสถานีวิจัยสัตว์ป่าฮาลา-บาลา มีระบบการตรวจวัดประชากรชะนีมือดำ และเซียมัง ที่ได้มาตรฐาน และเป็นแนวทางเสริมความเข้มแข็งให้แก่ระบบการป้องกัน ดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า พร้อมทั้งให้ประชาชน และเยาวชนในพื้นที่ มีความตระหนักเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่ามากขึ้น

ผลความก้าวหน้าของการดำเนินงาน

ในรอบระยะเวลาการอนุญาตได้ดำเนินการแล้ว 2 กิจกรรม ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. กิจกรรมการอบรมนักวิจัย และเจ้าหน้าที่ เพื่อสำรวจชะนี

วิธีการดำเนินงาน

ฝึกอบรมนักวิจัย และเจ้าหน้าที่ จำนวน 15 คน ประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา และสถานีวิจัยสัตว์ป่าฮาลา-บาลา โดยผู้เชี่ยวชาญชะนี Dr. Warren Brockelman จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 16 ? 24 เมษายน พ.ศ. 2548

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สถานีวิจัยสัตว์ป่าฮาลา-บาลา, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลความก้าวหน้า

นักวิจัย และเจ้าหน้าที่ ประจำหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความสามารถในการสำรวจชะนีมือดำ และเซียมัง ได้รับอุปกรณ์ในการสำรวจพร้อมปฏิบัติงาน และเข้าใจขั้นตอนในการเก็บข้อมูล

2. กิจกรรมการสำรวจการกระจายและความหนาแน่นของชะนีมือดำ และเซียมัง ในผืนป่าฮาลาบา

วิธีการดำเนินการ

2.1 ใช้การสำรวจตำแหน่ง และจำนวนฝูงชะนี โดยการสุ่มตัวอย่างพื้นที่สำรวจ และกำหนดจุดฟังชะนีร้อง (Listening post หรือ LP) จำนวน 4 LP ต่อ 1 พื้นที่สุ่มตัวอย่าง คัดเลือกพื้นที่สุ่มตัวอย่างให้กระจายครอบคลุมพื้นที่ป่าฮาลาบาลา จากนั้นเก็บข้อมูลเสียงร้องชะนี ตามเวลาที่กำหนด

2.2 นำข้อมูลจาก ข้อ 2.2.1 มาทำแผนที่การกระจายของฝูงชะนี แต่ละชนิด

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลาบาลา และสถานีวิจัยสัตว์ป่าฮาลาบาลา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

Stand for Wildlife