บทนำ (Introduction) พื้นที่เชื่อมต่อผืนป่าตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี (Tenasserim Range) เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญในเชิงภูมิศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า เพราะไม่เพียงแต่เป็นพื้นที่ป่าตามเขตชายแดนประเทศไทยและสหภาพพม่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์อยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นแนวเชื่อมต่อระหว่างผืนป่าอนุรักษ์ผืนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือผืนป่าตะวันตก (Western Forest Complex) กับผืนป่าแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Forest Complex) กอปรกับพื้นที่นี้ตั้งอยู่ในเขตรอยต่อทางชีวภูมิศาสตร์ (Biogeographical zone) ถึง 4 เขต ครอบคลุม 6 ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย จึงเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มป่าตะวันตก (Western Forest Complex) และกลุ่มป่าแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Forest Complex) ตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งครอบคลุมเขตทางสัตวภูมิศาสตร์ 3 เขต จึงเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ดังนั้นหากสามารถบริหารจัดการเพื่ออนุรักษ์พื้นที่เชื่อมต่อผืนป่าตามแนว เทือกเขาตะนาวศรีไว้ได้และพัฒนาให้กลายเป็นป่าที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมสำหรับการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ย่อมเกิดประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต อย่างมาก ด้วยเหตุนี้ โครงการประเมินสถานภาพสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัยในแนวเชื่อมเทือกเขาตะนาวศรี (Wildlife and Its Habitat Assessment in the Corridor Zone under the BCI Pilot Site in the Tenasserim WEFCOM Thailand) ดำเนินการโดยสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (ประเทศไทย) ภายใต้โครงการจัดทำแนวเชื่อมต่อเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Conservation Corridors Initiative (BCI) Phase 1:2006 -2008) ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและ พันธุ์พืช เป็นผู้ดำเนินการหลัก จึงเกิดขึ้น เพื่อประเมินสถานภาพประชากรสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัยในแนวเชื่อมต่อเทือกเขาตะนาวศรีและป่าอนุรักษ์ใกล้เคียง ซึ่งมีระยะห่างจากชายแดนประเทศไทยและสหภาพพม่า 5 – 10 กิโลเมตร โดยพื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่ระหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี และอุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี ไปจนถึงอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี รวมระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่สำคัญ 3 แห่ง คือ อุทยานธรรมชาติวิทยา ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี? อีก 2 แห่งตั้งอยู่ในเขตจังหวัด กาญจนบุรี ได้แก่ พื้นที่ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่หวงห้ามไว้ใช้ในราชการทหาร พ.ศ. 2481 และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติวังใหญ่แม่น้ำน้อย ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาเพื่อให้มีการผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติไทรโยค แนวเชื่อมต่อเทือกเขาตะนาวศรีสำคัญอย่างไร (What is the importance of Tenassarim Biodiversity Corridor Initiative) 1. แนวเชื่อมต่อเทือกเขาตะนาวศรี ( Tenasserim range ) มีความสำคัญในเชิงภูมิศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า เพราะไม่เพียงแต่เป็นพื้นที่ป่าตามเขตชายแดนประเทศไทยและสหภาพพม่าที่ยังความอุดมสมบูรณ์อยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างผืนป่าอนุรักษ์ผืนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ผืนป่าตะวันตก (Western Forest Complex) กับผืนป่าแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Forest Complex) 2. เป็นพื้นที่สำคัญอีกแห่งสำหรับการอนุรักษ์สัตว์ป่าและป่าไม้ เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตรอยต่อทางชีวภูมิศาสตร์ (Biogeographical zone) ถึง 4 เขต ได้แก่ อินโด- ไชนิส (Indo-Chinese), ชิโนมาลายัน (Sino-Malayan) , อินโดเบอร์มิส (Indo-Burmese) และอินเดียตะวันออก (Eastern Indian) จึงเป็นแหล่ง รวมความหลากหลายทางชีวภาพของชนิดพันธุ์ที่มีความโดดเด่นในพื้นที่ 3. มีระยะห่างจากชายแดนประเทศไทย?สหภาพพม่า 5, และ 10 กิโลเมตร ส่วนหนึ่งยังคงเป็นหย่อมป่าที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ขณะเดียวกันพื้นที่ส่วนใหญ่ได้ถูกประชาชนใช้ประโยชน์แล้ว 4. ปัจจัยคุกคามหลัก คือ การบุกรุกแผ้วถางป่า การล่าสัตว์ การลักลอบตัดไม้ การอพยพย้ายถิ่นและตั้งถิ่นฐานของผู้ลี้ภัย การเพิ่มขึ้นของการตั้งถิ่นฐาน ทำให้เกิดหย่อมป่า (Fragmentation) มากขึ้น อันนำมาซึ่งปัญหาการเสื่อมโทรมของระบบนิเวศอย่างถาวร และการค้าสัตว์ป่าตามแนวชายแดน 5. หากมีการดูแลรักษาและป้องกันปัจจัยคุกคามอย่างเป็นระบบ เป็นไปได้ว่าในอนาคตจะกลายมาเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ของสัตว์ป่าแห่งผืนป่า (Landscape species) ที่สำคัญ ซึ่งอาศัยอยู่ระหว่างผืนป่าตะวันตก ผืนป่าแก่งกระจานและผืนป่าของประเทศสหภาพพม่าได้ ทำไมต้องสำรวจ ? เหตุผล (Reasons) 1. ต้องการทราบสถานภาพของสัตว์ป่าแห่งผืนป่า (Landscape species) แหล่งที่อยู่อาศัย และปัจจัยคุกคามที่เป็นปัจจุบันที่สุด เพื่อนำไปสู่การวางแผนการติดตามตรวจสอบที่เป็นระบบต่อไป 2. ต้องการข้อมูลที่จำเป็นในการวางแผนอนุรักษ์พื้นที่เชื่อมต่อระหว่าง 2 ผืนป่าที่แยกจากกันให้มีเสถียรภาพยิ่งขึ้น โดยมองทั้งระบบนิเวศของผืนป่า เพื่อนำไปใช้เป็นต้นแบบเพื่อการจัดการพื้นที่เชื่อมต่อผืนป่าอื่น ๆ ต่อไป 3. หากสามารถอนุรักษ์พื้นที่เชื่อมต่อตามแนวเทือกเขาตะนาวศรีไว้ได้ จะสามารถเชื่อมโยงระบบนิเวศระหว่างผืนป่าตะวันตกและผืนป่าแก่งกระจาน ซึ่งเป็นป่าผืนใหญ่ที่มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ที่สุด ที่เหลืออยู่ในประเทศไทย พื้นที่ศึกษา (Study Areas) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย 1. พื้นที่ตอนล่างของอุทยานแห่งชาติไทรโยค 2. พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติวังใหญ่ - แม่น้ำน้อย ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติไทรโยค 3. พื้นที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินหวงห้ามไว้ใช้ในราชการทหาร พ.ศ. 2481 จังหวัดราชบุรี ประกอบด้วย 1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี 2. พื้นที่เสนอจัดตั้งเป็นอุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน 3. โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เป้าหมาย (Objectives) 1. กำหนดสัตว์ป่าเป้าหมายที่เป็นสัตว์ป่าแห่งผืนป่า (Landscape species) ในแนวเชื่อมต่อเทือกเขาตะนาวศรี 2. จำแนกพื้นที่สำคัญที่จะพัฒนาเป็นแนวเชื่อมต่อผืนป่า (corridor) หรือ stepping stone เพื่ออำนวยต่อการเคลื่อนย้ายของสัตว์ป่าเป้าหมาย เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า การฟื้นฟูป่า รวมไปถึงการป้องกันและการใช้ประโยชน์ ให้เป็นไปตามหลักวิชาการที่สุด 3. สร้างความร่วมมือในการอนุรักษ์สัตว์ป่าและแหล่งที่อยู่อาศัย และแก้ไขปัญหาปัจจัยคุกคามสัตว์ป่า ระหว่างเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องและประชาชน ในพื้นที่แนวเชื่อมต่อผืนป่าตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เอกสารสรุปผลการดำเนินงานโครงการ สถานภาพสัตว์ป่าและแนวทางการฟื้นฟู แนวเชื่อมต่อป่าเทือกเขาตะนาวศรี เนื้อหา - ทำไมต้องเป็นแนวเชื่อมต่อป่าเขาตะนาวศรี - บทบาทของสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า - สัตว์ป่าแห่งผืนป่า: ดัชนีชี้ความสำเร็จ - การสำรวจภาคสนาม - สภาพป่า และการใช้ที่ดินในพื้นที่แนวเชื่อมต่อป่า - ความชุกชุมของสัตวืป่าแห่งผืนป่า - การกระจายของสัตว์ป่าในแนวเชื่อมต่อป่า - การใช้ทรัพยากรโดยมนุษย์ และปัจจัยคุกคามต่อแนวเชื่อมต่อป่า - การออกแบบแนวเชื่อมต่อป่า เพื่อสัตว์ป่าแห่งผืนป่า - ความสำคัญของการมีระบบตรวจวัดระยะยาว - มาตรการตัดการที่จำเป็นต่อป่า
บทนำ (Introduction)
พื้นที่เชื่อมต่อผืนป่าตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี (Tenasserim Range) เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญในเชิงภูมิศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า เพราะไม่เพียงแต่เป็นพื้นที่ป่าตามเขตชายแดนประเทศไทยและสหภาพพม่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์อยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นแนวเชื่อมต่อระหว่างผืนป่าอนุรักษ์ผืนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือผืนป่าตะวันตก (Western Forest Complex) กับผืนป่าแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Forest Complex) กอปรกับพื้นที่นี้ตั้งอยู่ในเขตรอยต่อทางชีวภูมิศาสตร์ (Biogeographical zone) ถึง 4 เขต ครอบคลุม 6 ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย จึงเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กลุ่มป่าตะวันตก (Western Forest Complex) และกลุ่มป่าแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Forest Complex) ตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งครอบคลุมเขตทางสัตวภูมิศาสตร์ 3 เขต จึงเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ดังนั้นหากสามารถบริหารจัดการเพื่ออนุรักษ์พื้นที่เชื่อมต่อผืนป่าตามแนว เทือกเขาตะนาวศรีไว้ได้และพัฒนาให้กลายเป็นป่าที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมสำหรับการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ย่อมเกิดประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต อย่างมาก
ด้วยเหตุนี้ โครงการประเมินสถานภาพสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัยในแนวเชื่อมเทือกเขาตะนาวศรี (Wildlife and Its Habitat Assessment in the Corridor Zone under the BCI Pilot Site in the Tenasserim WEFCOM Thailand) ดำเนินการโดยสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (ประเทศไทย) ภายใต้โครงการจัดทำแนวเชื่อมต่อเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Conservation Corridors Initiative (BCI) Phase 1:2006 -2008) ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและ พันธุ์พืช เป็นผู้ดำเนินการหลัก จึงเกิดขึ้น เพื่อประเมินสถานภาพประชากรสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัยในแนวเชื่อมต่อเทือกเขาตะนาวศรีและป่าอนุรักษ์ใกล้เคียง ซึ่งมีระยะห่างจากชายแดนประเทศไทยและสหภาพพม่า 5 – 10 กิโลเมตร
โดยพื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่ระหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี และอุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี ไปจนถึงอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี รวมระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่สำคัญ 3 แห่ง คือ อุทยานธรรมชาติวิทยา ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี? อีก 2 แห่งตั้งอยู่ในเขตจังหวัด กาญจนบุรี ได้แก่ พื้นที่ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่หวงห้ามไว้ใช้ในราชการทหาร พ.ศ. 2481 และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติวังใหญ่แม่น้ำน้อย ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาเพื่อให้มีการผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติไทรโยค
แนวเชื่อมต่อเทือกเขาตะนาวศรีสำคัญอย่างไร (What is the importance of Tenassarim Biodiversity Corridor Initiative)
1. แนวเชื่อมต่อเทือกเขาตะนาวศรี ( Tenasserim range ) มีความสำคัญในเชิงภูมิศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า เพราะไม่เพียงแต่เป็นพื้นที่ป่าตามเขตชายแดนประเทศไทยและสหภาพพม่าที่ยังความอุดมสมบูรณ์อยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างผืนป่าอนุรักษ์ผืนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ผืนป่าตะวันตก (Western Forest Complex) กับผืนป่าแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Forest Complex) 2. เป็นพื้นที่สำคัญอีกแห่งสำหรับการอนุรักษ์สัตว์ป่าและป่าไม้ เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตรอยต่อทางชีวภูมิศาสตร์ (Biogeographical zone) ถึง 4 เขต ได้แก่ อินโด- ไชนิส (Indo-Chinese), ชิโนมาลายัน (Sino-Malayan) , อินโดเบอร์มิส (Indo-Burmese) และอินเดียตะวันออก (Eastern Indian) จึงเป็นแหล่ง รวมความหลากหลายทางชีวภาพของชนิดพันธุ์ที่มีความโดดเด่นในพื้นที่ 3. มีระยะห่างจากชายแดนประเทศไทย?สหภาพพม่า 5, และ 10 กิโลเมตร ส่วนหนึ่งยังคงเป็นหย่อมป่าที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ขณะเดียวกันพื้นที่ส่วนใหญ่ได้ถูกประชาชนใช้ประโยชน์แล้ว 4. ปัจจัยคุกคามหลัก คือ การบุกรุกแผ้วถางป่า การล่าสัตว์ การลักลอบตัดไม้ การอพยพย้ายถิ่นและตั้งถิ่นฐานของผู้ลี้ภัย การเพิ่มขึ้นของการตั้งถิ่นฐาน ทำให้เกิดหย่อมป่า (Fragmentation) มากขึ้น อันนำมาซึ่งปัญหาการเสื่อมโทรมของระบบนิเวศอย่างถาวร และการค้าสัตว์ป่าตามแนวชายแดน 5. หากมีการดูแลรักษาและป้องกันปัจจัยคุกคามอย่างเป็นระบบ เป็นไปได้ว่าในอนาคตจะกลายมาเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ของสัตว์ป่าแห่งผืนป่า (Landscape species) ที่สำคัญ ซึ่งอาศัยอยู่ระหว่างผืนป่าตะวันตก ผืนป่าแก่งกระจานและผืนป่าของประเทศสหภาพพม่าได้
ทำไมต้องสำรวจ ?
เหตุผล (Reasons)
1. ต้องการทราบสถานภาพของสัตว์ป่าแห่งผืนป่า (Landscape species) แหล่งที่อยู่อาศัย และปัจจัยคุกคามที่เป็นปัจจุบันที่สุด เพื่อนำไปสู่การวางแผนการติดตามตรวจสอบที่เป็นระบบต่อไป 2. ต้องการข้อมูลที่จำเป็นในการวางแผนอนุรักษ์พื้นที่เชื่อมต่อระหว่าง 2 ผืนป่าที่แยกจากกันให้มีเสถียรภาพยิ่งขึ้น โดยมองทั้งระบบนิเวศของผืนป่า เพื่อนำไปใช้เป็นต้นแบบเพื่อการจัดการพื้นที่เชื่อมต่อผืนป่าอื่น ๆ ต่อไป 3. หากสามารถอนุรักษ์พื้นที่เชื่อมต่อตามแนวเทือกเขาตะนาวศรีไว้ได้ จะสามารถเชื่อมโยงระบบนิเวศระหว่างผืนป่าตะวันตกและผืนป่าแก่งกระจาน ซึ่งเป็นป่าผืนใหญ่ที่มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ที่สุด ที่เหลืออยู่ในประเทศไทย
พื้นที่ศึกษา (Study Areas)
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย 1. พื้นที่ตอนล่างของอุทยานแห่งชาติไทรโยค 2. พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติวังใหญ่ - แม่น้ำน้อย ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติไทรโยค 3. พื้นที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินหวงห้ามไว้ใช้ในราชการทหาร พ.ศ. 2481
จังหวัดราชบุรี ประกอบด้วย 1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี 2. พื้นที่เสนอจัดตั้งเป็นอุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน 3. โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
เป้าหมาย (Objectives)
1. กำหนดสัตว์ป่าเป้าหมายที่เป็นสัตว์ป่าแห่งผืนป่า (Landscape species) ในแนวเชื่อมต่อเทือกเขาตะนาวศรี
2. จำแนกพื้นที่สำคัญที่จะพัฒนาเป็นแนวเชื่อมต่อผืนป่า (corridor) หรือ stepping stone เพื่ออำนวยต่อการเคลื่อนย้ายของสัตว์ป่าเป้าหมาย เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า การฟื้นฟูป่า รวมไปถึงการป้องกันและการใช้ประโยชน์ ให้เป็นไปตามหลักวิชาการที่สุด
3. สร้างความร่วมมือในการอนุรักษ์สัตว์ป่าและแหล่งที่อยู่อาศัย และแก้ไขปัญหาปัจจัยคุกคามสัตว์ป่า ระหว่างเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องและประชาชน ในพื้นที่แนวเชื่อมต่อผืนป่าตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์
เอกสารสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
สถานภาพสัตว์ป่าและแนวทางการฟื้นฟู แนวเชื่อมต่อป่าเทือกเขาตะนาวศรี
เนื้อหา - ทำไมต้องเป็นแนวเชื่อมต่อป่าเขาตะนาวศรี - บทบาทของสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า - สัตว์ป่าแห่งผืนป่า: ดัชนีชี้ความสำเร็จ - การสำรวจภาคสนาม - สภาพป่า และการใช้ที่ดินในพื้นที่แนวเชื่อมต่อป่า - ความชุกชุมของสัตวืป่าแห่งผืนป่า - การกระจายของสัตว์ป่าในแนวเชื่อมต่อป่า - การใช้ทรัพยากรโดยมนุษย์ และปัจจัยคุกคามต่อแนวเชื่อมต่อป่า - การออกแบบแนวเชื่อมต่อป่า เพื่อสัตว์ป่าแห่งผืนป่า - ความสำคัญของการมีระบบตรวจวัดระยะยาว - มาตรการตัดการที่จำเป็นต่อป่า