เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก

เป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรพันธุ์ไม้และสัตว์ป่า มีการแบ่งพื้นที่เพื่อการจัดการออกเป็น 4 ส่วนการจัดดการ โดยแบ่งพื้นที่จัดการตามปริมาณของหน่วยพิทักษ์ป่าเพื่อให้มีกำลังพลของเจ้าหน้าที่เพียงพอต่อการดูแลปัองกันพื้นที่ภายในพื้นที่จัดการของตน และสะดวกต่อการกระจายทีมลาดตระเวนเข้าดูแลป้องกันพื้นที่

ในอดีต ปี 2551 ถึง 2552 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตกมีหน่วยพิทักษ์ป่าจำนวน 13 หน่วย และปี 2557 ถึงปี 2558 มีจำนวนหน่วยพิทักษ์ป่าทั้งหมด 18 หน่วย ประกอบด้วย หน่วยพิทักษ์ป่าถาวรจำนวน 17 หน่วย และหน่วยพิทักษ์ป่าชั่วคราวจำนวน 1 หน่วย มีการแบ่งกำลังพลลาดตระเวนกระจายไปตามจำนวนหน่วยพิทักษ์ป่าใน 4 ส่วนจัดการ โดยในอดีต  2551 ถึง 2552 มีหน่วยพิทักษ์ป่าจำนวน 13 ทีม  2553 มี 14 ทีม  2554-2556 มี 16 ทีม และ 2557 ถึงปัจจุบันมีจำนวนทีมทั้งหมด 18 ทีม ประกอบด้วย โดยส่วนจัดการที่ 1 มีหน่วยพิทักษ์ป่า 5 หน่วย ส่วนจัดการที่ 2 ประกอบด้วยมีหน่วยพิทักษ์ป่า 6 หน่วย ส่วนจัดการที่ 3 ประกอบด้วยมีหน่วยพิทักษ์ป่า 3 หน่วยซึ่งเป็นหน่วยพิทักษ์ป่าชั่วคราวทั้ง 1 หน่วย และส่วนจัดการที่ 4 มี 4 หน่วย รวมจำนวนหน่วยพิทักษ์ป่าทั้งสิ้น 18 หน่วย ปัจจุบันจำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก ตะวันตก มีจำนวนทั้งสิ้น 120 นาย

แผนที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก



ทรัพยากรพรรณพืชและสัตว์ป่า

เอื้องกระดุมลายบริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าแม่กะสะ

ฝูงกระทิงในโป่งบริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าซ่งไท้

ลิงลมบริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าทิคอง


การลาดตระเวนดูแลป้องกันพื้นที่


ผลการดำเนินงาน

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก มีการทำงานลาดตระเวนมาก่อนที่จะพัฒนาระบบลาดตระเวนมาอยู่ในระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพตั้งแต่ปี 2548 และมีผลการลาดตระเวนต่อเนื่องแต่ยังขาดความรู้เทคนิค ระบบแบบแผนในการทำงาน ในปี 2548 ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าในการฝึกอบรมเทคนิคยุทธวิธีทางทหารและการใช้อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเพื่ออำนวยในการทำงานลาดตระเวน และเริ่มทำงานลาดตระเวนแบบมีระบบและแบบแผน มีระบบฐานข้อมูลที่รองรับข้อมูลลาดตระเวนที่พร้อมนำเสนอเพื่อใช้ในการวางแผนจัดการพื้นที่ต่อไป

ผลการปฏิบัติงานในระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพที่ผ่านมาประกอบด้วย การส่งเสริมเทคนิคยุทธวิธีทางทหาร การใช้อุปกรณ์เทคนิคต่าง ๆ โดยจัดฝึกอบรมต่อเนื่องทุกปี ได้แก่ เครื่องกำหนดพิกัด GPS เข็มทิศ กล้องถ่ายภาพ และนอกจากนี้ยังส่งเสริมในเรื่องความสะดวกในขณะปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ได้แก่ การสนับสนุนการจัดการห้องปฏิบัติการลาดตระเวน อุปกรณ์ภาคสนาม เสบียงอาหาร เป็นต้น


การฝึกอบรมเสริมเทคนิคการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ




ห้องประชุมลาดตระเวน


ในปี 2551 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เริ่มทำงานในระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ มีปริมาณการเดินลาดตระเวนครอบคลุมพื้นที่สูงสุดในขนาดกริด 1 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 28 ครั้ง และในปี 2558 ได้มีการขยายพื้นที่เดินลาดตระเวนเพิ่มมากขึ้นโดยมีปริมาณการเดินลาดตระเวนครอบคลุมพื้นที่สูงสุด เท่ากับ 64 ครั้ง และหากนับจากปีที่เริ่มลาดตระเวนจนกระทั่งปัจจุบัน (2551-2558) มีปริมาณการเดินลาดตระเวนครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งพื้นที่โดยมีปริมาณการเดินสูงสุด เท่ากับ 358 ครั้ง


ภาพเปรียบเทียบปริมาณการเดินลาดตระเวนครอบคลุมพื้นที่ปี 2551 และปี 2558 และภาพรวมตั้งแต่ปี 2551 ถึงปี 2558

ภาพปริมาณการเดินลาดตระเวน
ครอบคลุมพื้นที่ปี 2551
ภาพปริมาณการเดินลาดตระเวน
ครอบคลุมพื้นที่ปี 2558
ภาพปริมาณการเดินลาดตระเวน
ครอบคลุมพื้นที่ปี 2551 - 2558


ตัวอย่างรูปแบบรายงานลาดตระเวน SMART



ภาพการประชุมลาดตระเวนประจำเดือน



ป้าหมายต่อไป

เป้าหมายที่ต้องการต่อไปในระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ คือยังคงต้องการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะเทคนิคด้านการลาดตระเวนหาข่าว การรับข่าวสารจากทีมลาดตระเวนเอง และจากแหล่งข่าวอื่น ๆ เนื่องจากปัจจุบันการเข้ามากระทำผิดในพื้นที่มีมากมายจากหลายทิศทางของเขตรักษาพันธุ์ฯ และไม่สามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ โดยส่วนมากจะพบเห็นผู้กระทำผิดเข้ามาก่อนที่จะกระทำผิด และบางส่วนพบเพียงร่องรอยหลักฐานการกระทำผิดไปแล้วเท่านั้น การพบเห็นผู้กระทำผิดโดยตรงนั้นเจ้าหน้าที่ยังขาดทักษะการปะทะและการจัดการเพื่อให้สัมฤทธิ์ผลได้

นอกจากการส่งเสริมงานลาดตระเวนเบื้องต้นแล้วยังคงต้องมีการพัฒนาศักยภาพในเรื่องของการใช้ข้อมูลลาดตระเวนมาวางแผนเพื่อการจัดการพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที จากการใช้ระบบฐานข้อมูล SMART ที่เป็นฐานข้อมูลที่พร้อมจะใช้เป็นที่รองรับข้อมูลการลาดตระเวนทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นงานลาดตระเวนปกติ การวางแผน และการข่าว โดยระบบฐานข้อมูล SMART สามารถวิเคราะห์ผลการลาดตระเวนที่มีการลาดตระเวนปกติไปพร้อมกับการมีแผนการลาดตระเวนและการข่าวได้ ซึ่งจะส่งผลให้การลาดตระเวนมีแบบแผน และจุดมุ่งหมายชัดเจน นำไปสู่ผลสำเร็จในการจัดการปัญหาปัจจัยคุกคามได้ตามกระบวนการตามกฎหมายต่อไป