โครงการฝึกอบรมเทคนิคการอนุรักษ์เสือโคร่ง รุ่นที่ 11 จัดขึ้นในวันที่ 2-10 กรกฎาคม 2560 ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี (ภาคสนาม) และในวันที่ 24-28 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ภาคปฏิบัติ) โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการจัดการสัตว์ป่าและทุ่งหญ้า ภาคชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 21 คน โดยจัดขึ้นจากความร่วมมือของภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ และสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย
โครงการฝึกอบรมเทคนิคการอนุรักษ์เสือโคร่งมีเป้าหมายให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรบมีความเข้าใจถึงความสำคัญของกระบวนการวิจัยสัตว์ป่า รักษาพื้นที่คุ้มครอง เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์อย่างเป็นระบบและยั่งยืนตามอุดมการณ์ การใช้วิชาการนำการจัดการ โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการปฏิบัติงานภายใต้ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (SMART PATROL SYSTEM) ความเข้าใจวิธีการประเมินการกระจายของเสือโคร่ง สัตว์ป่าที่สำคัญ และปัจจัยคุกคาม ตามวิธี Occupancy ซึ่งเป็นวิธีการมาตรฐานที่ใช้ประเมินพื้นที่คุ้มครองขนาดใหญ่
การประเมินประชากรเสือโคร่งจากการตั้งกล้องดักถ่ายภาพ (Camera trapping) และเหยื่อของเสือโคร่งจากวิธีการ Line transect survey ซึ่งเป็นวิธีการตามมาตรฐานสากลในภาคสนาม และภาคการคำนวณในห้องปฏิบัติการซึ่งเป็นการฝึกอบรมการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลลาดตระเวน (SMART) การประเมินการกระจายของเสือโคร่งและสัตว์ป่าโดยใช้โปรแกรม PRESENCE การประเมินประชากรเสือโคร่งโดยใช้กล้องดักถ่ายภาพด้วยโปรแกรม CAPTURE และเทคนิคการตรวจวัดประชากรสัตว์กีบซึ่งเป็นเหยื่อของเสือโคร่งด้วยโปรแกรม DISTANCE
การบรรยายแนวทางการอนุรักษ์เสือโคร่งและเหยื่อ และระบบลาดตระเวนในระดับนานาชาติ โดย
ดร.อนรรฆ พัฒนวิบูลย์ ผู้อำนวยการสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย
การบรรยายหลักการ การใช้ และทดสอบการใช้แผนที่ เข็มทิศ และ GPS ในการสำรวจเก็บข้อมูลลาดตระเวนเชิงคุณภาพ การประเมินการกระจายของสัตว์ป่า และการเก็บข้อมูลเหยื่อของเสือโคร่ง
ฝึกการใช้แบบฟอร์มการเก็บข้อมูลลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (SMART PATROL SYSTEM)
นิสิตผู้เข้าร่วมอบรมได้ฝึกปฏิบัติจริงโดยทำการเดินลาดตระเวนร่วมกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน
ฝึกเก็บข้อมูลสำรวจพื้นที่ครอบครองของเสือโคร่งและเหยื่อหลักของเสือโคร่ง โดยการสำรวจวิธี Patch Occupancy Survey ซึ่งเป็นวิธีการมาตรฐานที่ใช้ประเมินในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่
การบรรยายหลักการและวิธีการของ Line transect survey เพื่อประเมินประชากรสัตว์กีบซึ่งเป็นเหยื่อของเสือโคร่ง และการเก็บข้อมูลในภาคสนาม
การบรรยายเรื่องการประเมินประชากรเสือโคร่งจากการตั้งกล้องดักถ่ายภาพ (Camera trapping)
จากนายสมโภชน์ ดวงจันทราศิริ หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ
การฝึกอบรมการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลลาดตระเวน (SMART) PRESENCE CAPTURE และ DISTANCE
ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์