โดย อธิบดีฯ ธัญญา เนติธรรมกุล
อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช #DNP
เป็นประธานในพิธี
รวมถึง
อาจารย์รตยา จันทรเทียร ที่ปรึกษามูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ดร.นิคม แหลมสัก คณบดีคณะวนศาสตร์
ดร.พันธ์สิริ วินิจจะกุล ผู้จัดการโครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพและแรงจูงใจในการอนุรักษ์สัตว์ป่าในผืนป่าตะวันตก
ดร.อนรรฆ พัฒนวิบูลย์ ผู้อำนวยการสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า
ได้ร่วมเป็นเกียรติในงานพิธีเปิดศูนย์ฝึกอบรมฯ ในวันนี้ด้วย
..........................................................................................
โดยศูนย์ฝึกอบรมการอนุรักษ์เสือโคร่งระดับภูมิภาค เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานภายใต้โครงการสร้างเสริมประสิทธิภาพและแรงจูงใจในการอนุรักษ์สัตว์ป่า หรือ Tiger project ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ร่วมกับหน่วยงานหลักๆ ที่เกี่ยวข้องคือ
1. UNDP ภายใต้กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก หรือ Global Environmental Fund
2. สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Society หรือ WCS)
3. คณะวนศาตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ทำไมต้องเป็นเสือโคร่ง
• ผืนป่าห้วยขาแข้ง และทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นผืนป่าที่เป็นที่อาศัยของประชากรเสือโคร่งสายพันธุ์อินโดจีน ที่สำคัญแหล่งสุดท้ายของโลก ที่มีประชากรประมาณในผืนป่ามรดกโลกห้วยขาแข้ง ทุ่งใหญ่นเรศวร ประมาณ 60-80 ตัว
• เสือโคร่งเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่อนุรักษ์ คือพื้นที่ที่ยังคงรักษาเสือโคร่งไว้ได้ แสดงว่ามีระบบการป้องกันรักษาที่เข้มแข็ง ทำให้ยังคงรักษาสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ ที่เป็นอาหารของเสือโคร่งได้อย่างเพียงพอ คือ กวางป่า กระทิง วัวแดง และอื่นๆ
• เสือโคร่งเป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ในระดับโลก โดยทั่วโลกมีประชากรรวมกันไม่ถึง 4,000 ตัว โดยในประเทศไทย พบเหลืออยู่ไม่เกิน 200 ตัว และกว่าครึ่งพบในผืนป่าตะวันตก
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมสร้างเสริมประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้มีความรู้ความชำนาญด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูเสือโคร่ง และสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์
2. เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมสร้างเสริมประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่อนุรักษ์สัตว์ป่า และเสือโคร่ง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเน้นหลักสูตรการอนุรักษ์เสือโคร่ง และสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์
3. เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมนิสิตคณะวนศาสตร์ ด้านการจัดการสัตว์ป่าและทุ่งหญ้า และอื่นๆ
หลักสูตรการฝึกอบรมระยะแรก
• เทคนิคระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ SMART PATROL
• เทคนิคการประเมินประชากรเสือโคร่ง โดยใช้กล้องดักถ่ายภาพ
• เทคนิคการประเมินประชากรเหยื่อของเสือโคร่ง
• เทคนิคการประเมินการกระจายเสือโคร่ง และสัตว์กีบ
• นิเวศวิทยา และชีววิทยาของเสือโคร่ง
..........................................................................................
อีกทั้งวันนี้เป็นวันเริ่มต้นการฝึกอบรม
"โครงการสร้างเสริมประสิทธิภาพด้านยุทธวิธีและการบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่อนุรักษ์"
สำหรับเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนเขตฯ ห้วยขาแข้ง
และ "โครงการฝึกอบรมเทคนิคการปฏิบัติงานพื้นที่คุ้มครองภาคสนาม (พยัคฆ์ไพร รุ่นที่ 5)"
สำหรับนิสิตชาย ชั้นปีที่ 4 คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ฝึกอบรมระหว่าง วันที่ 4 - 10 มกราคม 2562
ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง