ปัจจุบันพื้นที่อนุรักษ์ในประเทศไทยเผชิญกับภัยคุกคามอย่างหนัก ทั้งปัญหาด้านการบุกรุก ครอบครองพื้นที่ การตัดไม้ การล่าสัตว์ป่า ดังนั้นหัวใจของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อันได้แก่ การรักษาพื้นที่ และการคุ้มครองสัตว์ป่า มีปัจจัยหนึ่งที่สำคัญโดยตรงต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันปราบปราม คือ การวางแผนป้องกันและปราบปรามเชิงยุทธวิธี การฝึกเป็นนักวางแผนที่ดีอย่างมีประสิทธิภาพ การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความสำคัญอย่างยิ่งของการเป็นผู้นำที่ดี โดยเฉพาะระดับหัวหน้าหน่วยงาน ทำให้เกิดการบูรณาการ ตั้งแต่กระบวนการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ สังเคราะห์ นำไปสู่การวางแผนลาดตระเวนอย่างเป็นระบบ ซึ่งสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย ได้มีส่วนร่วมในการเป็นวิทยากรร่วม ในโครงการฝึกอบรม หลักสูตร การวางแผนป้องกันและปราบปรามเชิงยุทธวิธีในพื้นที่อนุรักษ์ รุ่นที่ 2 จากผู้เข้าร่วมฝึกอบรมทั้งสิ้น 40 คน ในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระหว่างวันที่ 9 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ฝึกอบรมที่ 5 จังหวัดตาก เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานเพื่อนำไปสู่กระบวนการวางแผนการลาดตระเวนเพื่อการป้องกันปราบปรามอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป
เล่าความเป็นมาของระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Smart Patrol) การป้องกันรักษาพื้นที่อนุรักษ์ในประเทศไทย
โดยคุณสมโภชน์ มณีรัตน์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และวิทยากรจากสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย
จัดกลุ่มเพื่อเรียนรู้ หลักกระบวนการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ สังเคราะห์ เพื่อการวางแผนการลาดตระเวนในพื้นที่อนุรักษ์
1. พื้นที่ที่มีการใช้ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Smart Patrol System)
2. พื้นที่ที่มีการลาดตระเวนแต่ยังไม่เป็นระบบ (Smart Patrol NO System) ไม่ได้มีการนำข้อมูลจากการลาดตระเวนมาวิเคราะห์ หรือวางแผนการจัดการพื้นที่
3. พื้นที่ที่มีการลาดตระเวนอย่างเดียว (Only Patrol) แต่มิได้คำนึงถึงคุณภาพของข้อมูล การวิเคราะห์ และการนำไปใช้วางแผน เพื่อวางแผนการลาดตระเวนในอนาคต เป็นเพียงการเก็บข้อมูลตามนโยบายที่วางไว้เท่านั้น
การวางแผนอย่างง่ายด้วย Problem Tree
เกมส์การวางแผนการลาดตระเวน จากตัวอย่างฐานข้อมูลลาดตระเวนเชิงคุณภาพ SMART โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเจ้าหน้าที่ กับกลุ่มที่เป็นโจร เพื่อฝึกปฏิบัติการวางแผนระหว่าง Smart Patrol vs. ผู้กระทำความผิดกฎหมาย (รู้เขารู้เรา ใครจะรบชนะ)