สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และWWF ประเทศไทย ได้ดำเนินการจัดการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนจำนวน 35 นาย จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก เพื่อให้มีทักษะขั้นสูงสำหรับงานลาดตระเวนป้องกันรักษาป่าอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ลดการบาดเจ็บและการสูญเสียของเจ้าหน้าที่ในคณะปฏิบัติงาน ภายใต้ “โครงการสร้างเสริมประสิทธิภาพและเทคนิคการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (SMART PATROL)” ซึ่งครั้งนี้พนักงานราชการและนักวิชาการป่าไม้ หญิง จากเขตฯ ทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก จำนวน 5 คน และนิสิตหญิง ชั้นปีที่ 4 คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 52 คน ได้เข้ารับการฝึกอบรมร่วมกับเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน โดยทางคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในงานด้านการป้องกันและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ จึงได้จัดการฝึกอบรมนี้ ภายใต้ “โครงการฝึกอบรมเทคนิคการปฏิบัติงานพื้นที่คุ้มครองภาคสนาม (พยัคฆ์ไพร รุ่นที่ 3)”
การฝึกอบรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก โดยได้รับความร่วมมือจากคณะครูฝึกตำรวจตระเวนชายแดน ทำหน้าที่เป็นวิทยากรในการฝึกทักษะและเทคนิคการลาดตระเวนที่สำคัญ และทางเจ้าหน้าที่ WCS ทำหน้าที่เป็นวิทยากรในหัวข้อวิชาการในด้านการใช้อุปกรณ์ในการลาดตระเวน เช่น การใช้แผนที่ เข็มทิศ เครื่องกำหนดพิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS) และการใช้แบบฟอร์มบันทึกข้อมูลลาดตระเวน
ลงทะเบียนและรับอุปกรณ์การฝึกอบรม
นายยรรยง เลขาวิจิตร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3
เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรม
นางสาววีรยา โอชะกุล หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก
บรรยายสรุปผลการลาดตระเวนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก
เคารพธงชาติ และนางสาววีรยา โอชะกุล หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก กล่าวหน้าเสาธง ก่อนเริ่มการฝึกอบรม
การทดสอบสมรรถภาพร่างกายทั้งก่อนและหลังการเข้ารับการฝึก และออกกำลังกายตอนเช้า
เรียนเกี่ยวกับเทคนิคการพรางตัว
เรียนเกี่ยวกับการตรวจค้นจับกุม และการต่อสู้ป้องกันตัว
เรียนเกี่ยวกับเทคนิคการลาดตระเวน
เรียนอาวุธศึกษาและฝึกฝนการใช้อาวุธปืน
เรียนการใช้อุปกรณ์ในการลาดตระเวน
การใช้แผนที่ เข็มทิศ เครื่องกำหนดพิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS) และการใช้แบบฟอร์มบันทึกข้อมูลลาดตระเวน
ฝึกการเดินลาดตระเวนในพื้นที่จริง พร้อมการใช้อุปกรณ์ในการลาดตระเวน