กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่มีวิถีชีวิต ภาษา
และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดนเด่นชนเผ่าหนึ่งในประเทศไทย
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางมีชุมชนกะเหรี่ยงอาศัยอยู่ภายในเขตฯ 20 ชุมชน ซึ่งอยู่อาศัยก่อนการประกาศจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
และยังมีชุมชนของชนเผ่าม้งอีก 2 หมู่บ้านอยู่ภายในเขตฯ
นอกจากชุมชนที่อยู่ภายในแล้วนั้น ยังมีชุมชนที่อยู่ภายนอก รอบ ๆ เขตฯ อีกด้วย การอาศัยอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์เช่นนี้จะต้องพึ่งพาทรัพยากรในพื้นที่เพื่อการดำรงชีวิตอยู่
ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่มีรูปแบบที่เรียกว่ารูปแบบไร่หมุนเวียนเพื่อคือการทำเกษตรในพื้นที่เดิมแต่จะวนกลับมาทำเป็นรอบประมาณ
3-5 ปี จะกลับมาทำในพื้นที่เดิมอีกครั้ง ไม่ใช่การทำแบบไร่เลื่อนรอย แต่เมื่อจำนวนประชากกรเพิ่มขึ้นความต้องการใช้ทรัพยากรต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้นการบริหารการจัดการชุมชนและการดูแลรักษาพื้นที่อนุรักษ์ต้องดำเนินการควบคู่กันไป
การอนุรักษ์ทรัยากรธรรมชาติของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางในการจัดการเรื่องของชุมชนและการป้องกันพื้นที่ควบคู่กันไปนั้น
จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชนและเจ้าหน้าเป็นสำคัญ เช่น
การเดินลาดตระเวนร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่กับชาวบ้านเพื่อป้องกันการกระทำผิด
การส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมโดยไม่ส่งผลกระทบต่อทรัยากรมากเกินไป
การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ดีระหว่างชุมชนกับเขตฯ
การดึงเอาชาวบ้านมาเป็นเจ้าหน้าเพื่อช่วยดูแลรักษาทรัพยากรที่มีอยู่แทนที่จะเป็นผู้ใช้ทรัพยากรฝ่ายเดียว
เป็นต้น การจัดการในลักษณะดังกล่าวนั้นเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก
แต่ชุมชนก็ต้องอาศัยอยู่ได้เช่นกัน ที่สำคัญต้องจัดการบนพื้นฐานของหลักกฎหมายของพื้นที่อนุรักษ์ด้วย